NBT Culture Collection (NBTCC)
ธนาคารจุลินทรีย์ (MNBT) ได้ทำการวิจัยในสาขาต่างๆ เช่น การวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสนับสนุนโครงการอนุรักษ์โดยเฉพาะในประเทศไทย ประกอบด้วย งานด้านอนุกรมวิธาน การจำแนก การจัดระบบ สำรวจประชากร การกระจายชนิดพันธุ์ และการอนุรักษ์จุลินทรีย์ระยะยาว เนื่องด้วยนักวิจัยของ MNBT มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิจัยภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ ดังนั้นจุลินทรีย์จำนวนมากได้ถูกคัดแยก และ แยกเชื้อบริสุทธิ์ เก็บรักษาเพื่อการวิจัยในอนาคต ทักษะดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการตรวจสอบ ดูแลและจัดการการอนุรักษ์เชื้อบริสุทธิ์ที่มีความหลากหลายในระยะยาว
ตรวจสอบการเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวเพื่อให้มั่นใจว่าจุลินทรีย์จะอยู่รอดและคงคุณสมบัติไว้ได้สูงสุด ก่อนที่จะนำการรวบรวมจุลินทรีย์เข้าสู่ระบบ จะต้องได้รับการตรวจสอบการปนเปื้อน ชนิดและคุณสมบัติก่อนจัดเก็บ ซึ่งเชื้อที่ NBTCC รับจัดเก็บระยะยาว ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ต่อไปนี้:
1. ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
2. สายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ พบครั้งใหม่ในประเทศไทย เฉพาะถิ่น และหรือหายาก
3. จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง 1 และ 2 เท่านั้น
4. แสดงหลักฐานของการฝากเก็บสำรอง ณ สถานที่เก็บอื่นเพื่อให้บุคคลอื่นเข้าถึง
5. ภูมิอากาศสุดขั้ว ที่อยู่อาศัยโดดเด่น มรดกโลกขององค์การยูเนสโก เขตสงวนชีวมณฑล และภูมิภาค EECi เป็นต้น
6. พื้นที่ที่มีความสำคัญ ได้แก่ พื้นที่อ่อนไหว พื้นที่กรมอุทยานฯ พื้นที่กรมป่าไม้ และพื้นที่ที่มีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เป็นต้น
7. พีื้นที่ทีไม่ได้ขึ้นทะเบียน
8. ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ผ่านการวิเคราะห์ วิจัยแล้ว (ข้อมูลแนบ)
8. ข้อมูลเบื้องต้น เช่น ข้อมูลรหัส สถานที่เก็บ ภาพถ่าย การจัดอนุกรมวิธาน และลำดับดีเอ็นเอ
10. จุลินทรีย์ที่ครอบครองและนำฝากต้องชอบด้วยกฎหมาย (พร้อมหลักฐานการอนุญาต) สอดคล้องกับข้อตกลงของ NBT และอนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
กลุ่มเชื้อหลักในคลัง
รา
รา ในคลังจุลินทรีย์ แยกออกเป็นหลายกลุ่ม เช่นกลุ่ม ราทะเล ราจิ๋ว ราไซลาเรีย ส่วนมากพบว่าเป็นกลุ่มย่อยสลาย รองลงมาเป็นกลุ่มสร้างกรดไขมัน มีประโยชน์ในการผลิตสารเสริมอาหาร เป็นต้น งานวิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์นั้นดำเนินงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากสถาบัน งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ อนุกรมวิธานนั้นเป็นสิ่งที่ประกอบในการศึกษาและยืนยันชนิดของราที่เก็บในคลังจุลินทรีย์ ต้องประกอบด้วยข้อมูลเช่น สัณฐานวิทยา เคมี อัตราการเจริญ DNA Barcode และคุณสมบัติเฉพาะตัวของเชื้อแต่ละสายพันธุ์เป็นต้น
เห็ด
เชื้อเห็ดในคลังส่วนใหญ่เป็นเชื้อที่แยกได้โดยนักวิจัย สวทช. ซึ่งเป็เชื้อเห็ดป่าที่แยกได้จากงานวิจัยด้านการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ ศึกษาการใช้ประโยชน์ร่วมกับท้องถิ่น เชื้อเห็ดนี้เป็นเห็ดที่พบในสังคมป่าที่หลากหลายทั่วประเทศไทย มีการศึกษาด้านสัณฐานวิทยา อัตราการเจริญ คุณสมบัติของเชื้อเบื้องต้นเพื่อใช้ในการวิจัยเรื่องคุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเก็บรักษาระยะยาว และยืนยันอนุกรมวิธานด้วยผู้ชำนาญการตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น เคมี เปปไทด์ และ DNA Barcoding เป็นต้น งานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์ร่วมกับพันธมิตร
แบคทีเรีย
และ อาร์เคีย
ธนาคารจุลินทรีย์ สังกัดธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ มีพันธกิจรวบรวมข้อมูลและจัดเก็บรักษาสายพันธุ์ของแบคทีเรียและอาร์เคียร์ที่เป็นทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของประเทศ โดยมีความร่วมมือกับบุคลากรวิจัยในหน่วยงานต่างในประเทศ เพื่อ มุ่งเน้นดำเนินการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจสอบระบุชนิดบนหลักการอนุกรมวิธานแบบโพลีฟาสิก การศึกษาความหลากหลายและสังคมของของแบคทีเรียและอาร์เคีย ตลอดจนการพัฒนาจัดเก็บรักษาสายพันธุ์แบคทีเรียและอาร์เคียชอบเค็ม
9,811
จำนวนเชื้อจุลินทรีย์
ภายในคลังเก็บรักษา
ณ วันที่ 27 กันยายน 2564
314
จำนวนความหลากชนิด
ที่ผ่านการตรวจสอบด้วยเทคนิค
Polyphasic เรียบร้อยแล้ว
150
จำนวนชนิดใหม่ของโลก