top of page
รูปภาพนักเขียนThitiya Boonpratuang

เพชรเม็ดงามแห่งทะเลไทย ตอนที่ 1 ราทะเลชายฝั่ง “Aigialus”

อัปเดตเมื่อ 1 พ.ย. 2566

Aigialus parvus, S. Schatz & Kohlm. (1986)


ราทะเลสกุล “Aigialus” เป็นชื่อในภาษากรีก แปลว่า “ชายฝั่ง” ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยที่พบราชนิดนี้เป็นครั้งแรก พบได้บนไม้ที่ย่อยสลายแล้วในระบบนิเวศทางทะเล เช่น ชายฝั่งและป่าโกงกางที่มีน้ำขึ้นน้ำลง ในปี 2006 ทีมวิจัยราทะเลของ NBT นำโดย ดร.สาทินี ซื่อตรง ค้นพบราชนิดนี้บนซากไม้ที่อยู่ในน้ำทะเล เมื่อทำการจัดจำแนกด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา และ อนูชีวโมเลกุล พบว่าเป็น "Aigialus parvus, S. Schatz & Kohlm. (1986)" ราชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ Aigialaceae (ไอ-จิ-เอ-ลา-ซี-อี่) ลำดับ Pleosporales และภายใต้ไฟลั่ม Ascomycota



ภาพแสดงพัฒนาการงานวิจัยของ ราทะเล Aigialus parvus ของ สวทช.


การค้นพบครั้งนี้นอกจากจะเป็นการค้นพบราที่สวยงามแล้ว ยังประสบความสำเร็จในการแยกเชื้อในห้องปฏิบัติการ โดยอาหารที่ใช้ต้องมีส่วนประกอบของน้ำทะเลเป็นองค์ประกอบ และด้วยความจำเพาะของเซลล์ของราทะเลบางประการที่ไม่พบในรากลุ่มอื่นๆ ส่งผลให้มีความสามารถในการสร้างสารเมตาบอไลท์ชนิดต่างๆ เพื่อป้องกันตัวเองจากสภาพแวดล้อม และ เพื่อการดำรงชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ชนิดอื่นในระบบนิเวศทางทะเล เมื่อวิเคราะห์บทบาทในระบบนิเวศ จึงพบว่า Aigialus parvus เป็นรากลุ่มย่อยสลากซากไม้ในระบบนิเวศชายฝั่งและป่าโกงกาง ดังนั้นจึงมีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ย่อยสลาย เช่น โปรติเอส (protease) อะไมเลส (amylase) ไลเปส (lipase) เซลลูเลส (cellulase) ไซลาเนส (xylanase) และไคติเนส (chitinase) เป็นต้น (Raghukumar, 2008; Smitha et al., 2014) เพื่อย่อยสลายซากพืชที่มีองค์ประกอบของ ลิกนิน เซลลูโลส ลิกโนเซลลูโลส เป็นอาหาร และแปลงให้กลายเป็นสารอาหารและพลังงานส่งกลับคืนสู่ระบบนิเวศ


ราทะเล Aigialus parvus ได้รับความสนใจจากทีมวิจัยไบโอเทค ซึ่งค้นพบการสร้างสารเมตาบอไลท์ทุติยภูมิ Aigialomycin D, Aigialone, Aigialospirol มีฤทธิ์ทางชีวภาพ Anti-malaria (Isaka et al., 2002; Vongvilai et al., 2004) นอกจากนั้นยังพบว่าสารชีวภาพที่ได้จากราทะเลชนิดนี้สามารถยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์น้ำกลุ่มวิบริโอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการลดอัตราการตาย และลดการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Soowannayan, et al., 2019)


เอกสารอ้างอิง:

  1. Isaka, M., Yangchum, A., Intamas, S., Kocharin, K., Jones, E.B.G., Kongsaeree, P. and Prabpai, S. 2009. Aigialomycins and related polyketide metabolites from the mangrove fungus Aigialus parvus BCC 5311. Tetrahedron 65: 4396-4403.

  2. Isaka M, Suyarnsestakorn C, Tanticharoen M, Kongsaeree P, Thebtaranonth Y. Aigialomycins A-E, new resorcylic macrolides from the marine mangrove fungus Aigialus parvus. J Org Chem. 2002 Mar 8;67(5):1561-6. doi: 10.1021/jo010930g. PMID: 11871887.

  3. Kocharin, K. , Supothina, S. and Prathumpa, W. (2013) Hypothemycin production and its derivatives diversifying of Aigialus parvus BCC 5311 influenced by cultural condition. Advances in Bioscience and Biotechnology, 4, 1049-1056. doi: 10.4236/abb.2013.412140.

  4. Raghukumar, C. 2008. Marine fungal biotechnology: an ecological perspective. Fungal Diversity 31: 19-35.

  5. Soowannayan, C., Teja, D.N.C., Yatip, P., Mazumder, F.Y., Krataitong, K., Unagul, P., Suetrong, S., Preedanon, S., Klaysuban, A., Sakayaroj, J. and Sangtiean, T. 2019. Vibrio biofilm inhibitors screened from marine fungi protect shrimp against acute hepatopancreatic necrosis disease (AHPND). Aquaculture, 499: 1-8.

  6. Suetrong, Satinee, Preedanon, Sita, Klaysuban, Anupong, Gundool, Wunna, Unagul, Panida, Sakayaroj, Jariya, Promchu, Waratthaya and Sangtiean, Tanuwong. "Distribution and occurrence of manglicolous marine fungi from eastern and southern Thailand" Botanica Marina, vol. 60, no. 4, 2017, pp. 503-514. https://doi.org/10.1515/bot-2016-0107

  7. Vongvilai P, Isaka M, Kittakoop P, Srikitikulchai P, Kongsaeree P, Thebtaranonth Y. Ketene acetal and spiroacetal constituents of the marine fungus Aigialus parvus BCC 5311. J Nat Prod. 2004 Mar;67(3):457-60. doi: 10.1021/np030344d. PMID: 15043431.


ดู 304 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page