top of page

ความหลายหลายทางชีวภาพ อนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์เห็ดราขนาดใหญ่ กรณีศึกษาพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล

อัปเดตเมื่อ 17 มิ.ย. 2565

“การศึกษาอนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์เห็ดราขนาดใหญ่กรณีศึกษาพื้นที่อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล” การศึกษาอนุกรมวิธานของเห็ดรา เพื่อจัดทำบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพเห็ดราขนาดใหญ่ที่พบภายในพื้นที่ศึกษา รวมถึงศึกษาการใช้ประโยชน์เพื่อค้นหาศักยภาพที่สามารถนำไปต่อยอดเชิงลึก หรือ พัฒนาอาชีพของประชากรภายในพื้นที่ตามหลักการของการเป็นสตูลจีโอพาร์คโลก เน้นเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การได้ประโยชน์ของชุมชนโดยรอบควบคู่กับการอนุรักษ์ ผลจากการดำเนินงานด้านอนุกรมวิธานส่งต่อวิธีการอนุรักษ์ แนวทางรักษาทรัพยากร เป็นวัตถุประสงค์หลักของการถ่ายทอดการสำรวจเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มปริมาณเห็ดที่มีศักยภาพให้วิสาหกิจชุมชน โดยทำการคัดเลือกจากกลุ่มคนที่มีความพร้อมในการรวมกลุ่ม มีความเข้มแข็งในการดำเนินอาชีพ และพื้นที่อาศัยอยู่ในเขตสตูลจีโอพาร์คโลก สองอำเภอคือ อำเภอทุ้งหว้าและอำเภอระงู โดยเชื่อมต่อโครงการ กระทรวง อว. 9000 โดยนำมาจ้างงานคนในท้องถิ่นจำนวน 20 คนระยะเวลา 3 เดือน เพื่อร่วมศึกษาทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นของตนเอง จากการดำเนินงานร่วมกันพบจำนวนตัวอย่างเห็ดราจำนวน 606 ตัวอย่าง ผ่านการจำแนกด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีวโมเลกุลแล้วเสร็จร้อยละ 80 จากตัวอย่างทั้งหมดพบความหลากชนิดของเห็ดราขนาดใหญ่จำนวน 220 ชนิด ตัวอย่างแห้งได้รับการจัดทำเป็นตัวอย่างอ้างอิงและเก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา จากความหลากหลายดังกล่าวได้จัดทำเอกสารแสดงความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดราขนาดใหญ่เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินซ้ำของ World Geopark UNESCO ทีมวิจัยได้นำเสนอผลการวิจัยต่อคณะกรรมการประเมินพื้นที่สตูลจีโอพาร์คในวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ณ ท่าอ้อย อำเภอทุ้งหว้า จังหวัดสตูล พร้อมกับการนำเสนอทรัพยากรพืชและสัตว์ รวมถึงวัฒนธรรมการใช้ทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นอีกด้วย



ความงามจากป่า คุณค่าที่หลายคนมองข้าม

ผลงานวิจัย 6 เดือนได้ถูกสกัดออกเป็นหนังสือภาพ เพื่อให้ทุกคนมองเห็นเห็ดที่อาจมองข้ามไป ในฤดูฝนของทุกปี ทีมวิจัยมีโอกาสได้ทำงานในพื้นที่เพียงสองครั้งของฤดูฝนเท่านั้น การเดินทางที่เต็มไปด้วยความสุข สนุกสนานกับเพื่อนใหม่คือ ชุมชน ชาวบ้าน ทุ้งหว้า และ ระงู ให้ความเป็นกันเอง พากันสำรวจโดยทุกคนมีส่วนร่วม จึงพบว่างานที่ออกมานั้นเกินความคาดหมาย การร่วมมือของแต่ละฝ่ายทำให้ทีมวิจัยคิดว่า ความหลากหลายทางชีวภาพของ สตูลจีโอพาร์คโลก ยังอยู่กับเราต่อไปแน่นอน เพราะชุมชนเข้มแข็ง เห็นความสำคัญ และมีความกระตือรือล้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับสิ่งที่ชุมชนสนใจ งานเห็ดจึงเป็นอีกงานที่เปิดมุมมองของชุมชนให้มอง สิ่งเล็กสิ่งน้อย อยู่บนพื้นดิน บนกิ่งไม้ บนตอไม้ โคนต้นไม้ เข้าว่ามีบทบาทอะไร แล้วต้องดูแลสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อย่างไร


สื่อเผยแพร่เพื่อการศึกษา

  1. หนังสือ อิเล็กโทรนิค ผลการศึกษา 6 เดือนจากพื้นที่

  2. ภาพเห็ดสวยงาม หายากและพบบ่อย ในช่วงหน้าฝน

  3. โปสเตอร์เห็ดสวยงาม 2 โปสเตอร์

สนใจ download หนังสือไปที่ คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด ภายใต้โครงการ โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติฯ



ความหลายหลายทางชีวภาพ อนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์เห็ดราขนาดใหญ่ กรณีศึกษาพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล จังหวัดสตูล ภาพแและหนังสือ ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.




#รักเห็ด #ธนาคารทรัพยากรชีวภาพ #ความหลากหลายทางชีวภาพ #สตูลจีโอพาร์ค #ทุ้งหว้า #ระง

ดู 164 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page