top of page

Search Results

พบ 6 รายการสำหรับ ""

  • ✨ “𝘓𝘰𝘯𝘨𝘪𝘤𝘰𝘳𝘱𝘶𝘴 𝘴𝘵𝘳𝘪𝘢𝘵𝘪𝘴𝘱𝘰𝘳𝘶𝘴 ราทะเลของไทยที่พบบ่อยในป่าจาก (𝘕𝘺𝘱𝘢 𝘧𝘳𝘶𝘵𝘪𝘤𝘢𝘯𝘴)” 🌊🧫🌳

    วันนี้ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ขอนำเสนอเรื่อง “𝘓𝘰𝘯𝘨𝘪𝘤𝘰𝘳𝘱𝘶𝘴 𝘴𝘵𝘳𝘪𝘢𝘵𝘪𝘴𝘱𝘰𝘳𝘶𝘴 ราทะเลของไทยที่พบบ่อยในป่าจาก (𝘕𝘺𝘱𝘢 𝘧𝘳𝘶𝘵𝘪𝘤𝘢𝘯𝘴)” ต้นจาก (𝘕𝘺𝘱𝘢 𝘧𝘳𝘶𝘵𝘪𝘤𝘢𝘯𝘴) เป็นพืชในกลุ่มปาล์มที่เจริญอยู่ในพื้นที่น้ำกร่อย (brackish) ที่มีลักษณะเป็น โคลนนิ่มๆ ที่มีการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำขึ้นน้ำลงอย่างช้าๆ และยังเป็นบริเวณที่สะสมของสารอาหารในระบบนิเวศทางทะเล ราทะเลที่พบบนต้นจากนั้นทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายซากอินทรีย์ พบได้ทั้งในส่วนใบ กิ่ง ก้าน รวมทั้งฐานกาบใบที่ย่อยสลายของต้นจากอีกด้วย โดย “𝘓𝘰𝘯𝘨𝘪𝘤𝘰𝘳𝘱𝘶𝘴 𝘴𝘵𝘳𝘪𝘢𝘵𝘪𝘴𝘱𝘰𝘳𝘶𝘴 ราทะเลของไทยที่พบบ่อยในป่าจาก (𝘕𝘺𝘱𝘢 𝘧𝘳𝘶𝘵𝘪𝘤𝘢𝘯𝘴)” และในประเทศไทยของเราพบราทะเล 𝘓. 𝘴𝘵𝘳𝘪𝘢𝘵𝘪𝘴𝘱𝘰𝘳𝘶𝘴ได้ที่ไหน ? หน้าตาเป็นอย่างไร ? ไปติดตามกันเลยค่ะ เอกสารอ้างอิง: Bucher, V.V.C., Hyde, K.D., Pointing, S.B., and Reddy, C.A. (2004). Production of wood decay enzymes, mass loss and lignin solubilization in wood by marine ascomycetes and their anamorphs. Fungal Diversity 15: 1-14. Hyde, K.D. (1993). Fungi from Palms. V. 1 Phomatospora nypae sp. nov. and notes on marine fungi from Nypa fruticans in Malaysia. Sydowia 45: 15-20. Hyde, K.D. and Fröhlich, J. (1997). Fungi from palms. XXXVII. The genus Astrosphaeriella, including ten new species. Sydowia 50(1): 81-132. Hyde, K.D. and Sarma, V.V. (2006). Biodiversity and ecological observations on filamentous fungi of mangrove palm Nypa fruticans Wurumb (Liliopsida – Arecales) along the Tutong River, Brunei. Indian Journal of Geo-Marine Sciences 35(4): 297-307. Pilantanapak, A., Jones, E.B.G. and Eaton, R.A. (2005). Marine fungi on Nypa fruticans in Thailand. Botanica Marina 48 (5): 365-373. Jones, E.B.G., Pilantanapak, A., Chatmala, I., Sakayaroj, J., Phongpaichit, S. and Choeyklin, R. (2006). Thai marine fungal diversity. Songklanakarin J. Sci. Technol. 28(4): 687-708. Loilong, A., Sakayaroj J., Rungjindamai, N., Choeyklin, R. and Jones E.B.G. (2012). Biodiversity of fungi on the palm Nypa fruticans. In: E. B. Gareth Jones, Ka-Lai Pang (eds) Marine Fungi: and Fungal-like Organisms. de Gruyter: Berlin, Boston, pp. 273-290. กิตติกรรมประกาศ: ผลงานได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่มาข้อมูล: ทีมวิจัยราทะเล สวทช.

  • เพชรเม็ดงามแห่งทะเลไทย ตอนที่ 2 Manglicola guatemalensis

    มารู้จักจุลินทรีย์กลุ่มรากันมาหลายกลุ่มกันแล้ว วันนี้มาทำความรู้จักจุลินทรีย์กลุ่มราทะเลที่พบในไทยกันบ้างนะคะ ราทะเลพบได้ที่ไหนบ้างมีลักษณะอย่างไรบ้าง และมีบทบาทอย่างไรในระบบนิเวศน์ ประเทศไทยมีความหลากหลายด้านทรัพยากรธรรมชาติของระบบนิเวศน์ทางทะเลและชายฝั่ง ราทะเลไทย Manglicola guatemalensis เป็นจุลินทรีย์กลุ่มราที่พบในระบบนิเวศน์ทางทะเล ราดังกล่าวเมื่อพิจารณาตำแหน่งทางอนุกรมวิธานพบว่าถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับราบนบก (Suetrong et al., 2010, 2011) ในต่างประเทศมีการรายงานราทะเลชนิดนี้เฉพาะประเทศกัวเตมาลาและประเทศบรูไน โดยพบราทะเลชนิดนี้บนรากไม้โกงกาง (Rhizophora mangle) (Kohlmeyer and Kohlmeyer, 1971) การค้นพบที่น่าตื่นเต้นดังกล่าวเป็นข้อบ่งชี้ว่าประเทศไทยยังคงเต็มไปด้วยทรัพยากรชีวภาพที่รอคอยการค้นพบอีกมากมาย หากระบบนิเวศถูกทำลายไปคงไม่เหลือสิ่งที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ให้กับประเทศ เอกสารอ้างอิง: Kohlmeyer, J. and Kohlmeyer, E. (1971) Marine Fungi from Tropical America and Africa. Mycologia. 63(4): 831-861. Suetrong, S., Sakayaroj, J., Phongpaichit, S. and Jones E.B.G. (2010) Morphological and molecular characteristics of a poorly known marine ascomycete, Manglicola guatemalensis (Jahnulales: Pezizomycotina; Dothideomycetes, Incertae sedis): new lineage of marine ascomycetes, Mycologia, 102:1, 83-92. Suetrong, S., Boonyuen, N., Pang, K.L., Ueapattanakit, J., Klaysuban, A., Sriiindrasutdhi, V., Sivichai, S., Jones E.B.G. (2011). A taxonomic revision and phylogenetic reconstruction of the Jahnulales (Dothideomycetes), and the new family Manglicolaceae. Fungal Diversity. 51(1):163-188.

  • เพชรเม็ดงามแห่งทะเลไทย ตอนที่ 1 ราทะเลชายฝั่ง “Aigialus”

    Aigialus parvus, S. Schatz & Kohlm. (1986) ราทะเลสกุล “Aigialus” เป็นชื่อในภาษากรีก แปลว่า “ชายฝั่ง” ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยที่พบราชนิดนี้เป็นครั้งแรก พบได้บนไม้ที่ย่อยสลายแล้วในระบบนิเวศทางทะเล เช่น ชายฝั่งและป่าโกงกางที่มีน้ำขึ้นน้ำลง ในปี 2006 ทีมวิจัยราทะเลของ NBT นำโดย ดร.สาทินี ซื่อตรง ค้นพบราชนิดนี้บนซากไม้ที่อยู่ในน้ำทะเล เมื่อทำการจัดจำแนกด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา และ อนูชีวโมเลกุล พบว่าเป็น "Aigialus parvus, S. Schatz & Kohlm. (1986)" ราชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ Aigialaceae (ไอ-จิ-เอ-ลา-ซี-อี่) ลำดับ Pleosporales และภายใต้ไฟลั่ม Ascomycota ภาพแสดงพัฒนาการงานวิจัยของ ราทะเล Aigialus parvus ของ สวทช. การค้นพบครั้งนี้นอกจากจะเป็นการค้นพบราที่สวยงามแล้ว ยังประสบความสำเร็จในการแยกเชื้อในห้องปฏิบัติการ โดยอาหารที่ใช้ต้องมีส่วนประกอบของน้ำทะเลเป็นองค์ประกอบ และด้วยความจำเพาะของเซลล์ของราทะเลบางประการที่ไม่พบในรากลุ่มอื่นๆ ส่งผลให้มีความสามารถในการสร้างสารเมตาบอไลท์ชนิดต่างๆ เพื่อป้องกันตัวเองจากสภาพแวดล้อม และ เพื่อการดำรงชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ชนิดอื่นในระบบนิเวศทางทะเล เมื่อวิเคราะห์บทบาทในระบบนิเวศ จึงพบว่า Aigialus parvus เป็นรากลุ่มย่อยสลากซากไม้ในระบบนิเวศชายฝั่งและป่าโกงกาง ดังนั้นจึงมีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ย่อยสลาย เช่น โปรติเอส (protease) อะไมเลส (amylase) ไลเปส (lipase) เซลลูเลส (cellulase) ไซลาเนส (xylanase) และไคติเนส (chitinase) เป็นต้น (Raghukumar, 2008; Smitha et al., 2014) เพื่อย่อยสลายซากพืชที่มีองค์ประกอบของ ลิกนิน เซลลูโลส ลิกโนเซลลูโลส เป็นอาหาร และแปลงให้กลายเป็นสารอาหารและพลังงานส่งกลับคืนสู่ระบบนิเวศ ราทะเล Aigialus parvus ได้รับความสนใจจากทีมวิจัยไบโอเทค ซึ่งค้นพบการสร้างสารเมตาบอไลท์ทุติยภูมิ Aigialomycin D, Aigialone, Aigialospirol มีฤทธิ์ทางชีวภาพ Anti-malaria (Isaka et al., 2002; Vongvilai et al., 2004) นอกจากนั้นยังพบว่าสารชีวภาพที่ได้จากราทะเลชนิดนี้สามารถยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์น้ำกลุ่มวิบริโอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการลดอัตราการตาย และลดการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Soowannayan, et al., 2019) เอกสารอ้างอิง: Isaka, M., Yangchum, A., Intamas, S., Kocharin, K., Jones, E.B.G., Kongsaeree, P. and Prabpai, S. 2009. Aigialomycins and related polyketide metabolites from the mangrove fungus Aigialus parvus BCC 5311. Tetrahedron 65: 4396-4403. Isaka M, Suyarnsestakorn C, Tanticharoen M, Kongsaeree P, Thebtaranonth Y. Aigialomycins A-E, new resorcylic macrolides from the marine mangrove fungus Aigialus parvus. J Org Chem. 2002 Mar 8;67(5):1561-6. doi: 10.1021/jo010930g. PMID: 11871887. Kocharin, K. , Supothina, S. and Prathumpa, W. (2013) Hypothemycin production and its derivatives diversifying of Aigialus parvus BCC 5311 influenced by cultural condition. Advances in Bioscience and Biotechnology, 4, 1049-1056. doi: 10.4236/abb.2013.412140. Raghukumar, C. 2008. Marine fungal biotechnology: an ecological perspective. Fungal Diversity 31: 19-35. Soowannayan, C., Teja, D.N.C., Yatip, P., Mazumder, F.Y., Krataitong, K., Unagul, P., Suetrong, S., Preedanon, S., Klaysuban, A., Sakayaroj, J. and Sangtiean, T. 2019. Vibrio biofilm inhibitors screened from marine fungi protect shrimp against acute hepatopancreatic necrosis disease (AHPND). Aquaculture, 499: 1-8. Suetrong, Satinee, Preedanon, Sita, Klaysuban, Anupong, Gundool, Wunna, Unagul, Panida, Sakayaroj, Jariya, Promchu, Waratthaya and Sangtiean, Tanuwong. "Distribution and occurrence of manglicolous marine fungi from eastern and southern Thailand" Botanica Marina, vol. 60, no. 4, 2017, pp. 503-514. https://doi.org/10.1515/bot-2016-0107 Vongvilai P, Isaka M, Kittakoop P, Srikitikulchai P, Kongsaeree P, Thebtaranonth Y. Ketene acetal and spiroacetal constituents of the marine fungus Aigialus parvus BCC 5311. J Nat Prod. 2004 Mar;67(3):457-60. doi: 10.1021/np030344d. PMID: 15043431.

  • ความหลายหลายทางชีวภาพ อนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์เห็ดราขนาดใหญ่ กรณีศึกษาพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล

    “การศึกษาอนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์เห็ดราขนาดใหญ่กรณีศึกษาพื้นที่อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล” การศึกษาอนุกรมวิธานของเห็ดรา เพื่อจัดทำบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพเห็ดราขนาดใหญ่ที่พบภายในพื้นที่ศึกษา รวมถึงศึกษาการใช้ประโยชน์เพื่อค้นหาศักยภาพที่สามารถนำไปต่อยอดเชิงลึก หรือ พัฒนาอาชีพของประชากรภายในพื้นที่ตามหลักการของการเป็นสตูลจีโอพาร์คโลก เน้นเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การได้ประโยชน์ของชุมชนโดยรอบควบคู่กับการอนุรักษ์ ผลจากการดำเนินงานด้านอนุกรมวิธานส่งต่อวิธีการอนุรักษ์ แนวทางรักษาทรัพยากร เป็นวัตถุประสงค์หลักของการถ่ายทอดการสำรวจเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มปริมาณเห็ดที่มีศักยภาพให้วิสาหกิจชุมชน โดยทำการคัดเลือกจากกลุ่มคนที่มีความพร้อมในการรวมกลุ่ม มีความเข้มแข็งในการดำเนินอาชีพ และพื้นที่อาศัยอยู่ในเขตสตูลจีโอพาร์คโลก สองอำเภอคือ อำเภอทุ้งหว้าและอำเภอระงู โดยเชื่อมต่อโครงการ กระทรวง อว. 9000 โดยนำมาจ้างงานคนในท้องถิ่นจำนวน 20 คนระยะเวลา 3 เดือน เพื่อร่วมศึกษาทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นของตนเอง จากการดำเนินงานร่วมกันพบจำนวนตัวอย่างเห็ดราจำนวน 606 ตัวอย่าง ผ่านการจำแนกด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีวโมเลกุลแล้วเสร็จร้อยละ 80 จากตัวอย่างทั้งหมดพบความหลากชนิดของเห็ดราขนาดใหญ่จำนวน 220 ชนิด ตัวอย่างแห้งได้รับการจัดทำเป็นตัวอย่างอ้างอิงและเก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา จากความหลากหลายดังกล่าวได้จัดทำเอกสารแสดงความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดราขนาดใหญ่เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินซ้ำของ World Geopark UNESCO ทีมวิจัยได้นำเสนอผลการวิจัยต่อคณะกรรมการประเมินพื้นที่สตูลจีโอพาร์คในวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ณ ท่าอ้อย อำเภอทุ้งหว้า จังหวัดสตูล พร้อมกับการนำเสนอทรัพยากรพืชและสัตว์ รวมถึงวัฒนธรรมการใช้ทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นอีกด้วย ความงามจากป่า คุณค่าที่หลายคนมองข้าม ผลงานวิจัย 6 เดือนได้ถูกสกัดออกเป็นหนังสือภาพ เพื่อให้ทุกคนมองเห็นเห็ดที่อาจมองข้ามไป ในฤดูฝนของทุกปี ทีมวิจัยมีโอกาสได้ทำงานในพื้นที่เพียงสองครั้งของฤดูฝนเท่านั้น การเดินทางที่เต็มไปด้วยความสุข สนุกสนานกับเพื่อนใหม่คือ ชุมชน ชาวบ้าน ทุ้งหว้า และ ระงู ให้ความเป็นกันเอง พากันสำรวจโดยทุกคนมีส่วนร่วม จึงพบว่างานที่ออกมานั้นเกินความคาดหมาย การร่วมมือของแต่ละฝ่ายทำให้ทีมวิจัยคิดว่า ความหลากหลายทางชีวภาพของ สตูลจีโอพาร์คโลก ยังอยู่กับเราต่อไปแน่นอน เพราะชุมชนเข้มแข็ง เห็นความสำคัญ และมีความกระตือรือล้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับสิ่งที่ชุมชนสนใจ งานเห็ดจึงเป็นอีกงานที่เปิดมุมมองของชุมชนให้มอง สิ่งเล็กสิ่งน้อย อยู่บนพื้นดิน บนกิ่งไม้ บนตอไม้ โคนต้นไม้ เข้าว่ามีบทบาทอะไร แล้วต้องดูแลสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อย่างไร สื่อเผยแพร่เพื่อการศึกษา หนังสือ อิเล็กโทรนิค ผลการศึกษา 6 เดือนจากพื้นที่ ภาพเห็ดสวยงาม หายากและพบบ่อย ในช่วงหน้าฝน โปสเตอร์เห็ดสวยงาม 2 โปสเตอร์ สนใจ download หนังสือไปที่ คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด ภายใต้โครงการ โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติฯ ความหลายหลายทางชีวภาพ อนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์เห็ดราขนาดใหญ่ กรณีศึกษาพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล จังหวัดสตูล ภาพแและหนังสือ ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand. #รักเห็ด #ธนาคารทรัพยากรชีวภาพ #ความหลากหลายทางชีวภาพ #สตูลจีโอพาร์ค #ทุ้งหว้า #ระงู

  • NBT จับมือเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่คลังทรัพยากรศึกษาแบบเปิด OER

    ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ จัดทำสื่อเพื่อการเรียนรู้จากองค์ความรู้ที่ผ่านมาของนักวิจัย ถอดบทเรียน และจัดทำสื่ออย่างง่าย โดยมีวัตถุประสงค์ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจถึงทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทยอย่างถูกต้อง รู้สึกรักและหวงแหน และช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรเหล่านี้ การดำเนินงานด้านสื่อจึงเชื่อมโยงเข้ากับโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 นอกจากนั้นการดำเนินการครั้งนี้ยังถือเป็นหนึ่งในโครงการสนองพระราชดำริ โครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โครงการ อพ.สธ.) F3A8 กรอบการสร้างจิตสำนึก กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร อนุกรมวิธาน งานอนุกรมวิธานเป็นงานที่มีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของงานวิจัยต่อยอดทุกแขนง โดยเฉพาะการต่อยอดด้านการใช้ประโยชน์ หากงานอนุกรมวิธานไม่ชัดเจน งานวิจัยต่อยอดจะไม่ชัดเจนตาม และไม่สามารถได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ การจัดจำแนก หรือ Identification การวิเคราะห์จัดหมวดหมู่ หรือ Classification และการกำหนดชื่อ หรือ Nomenclature เป็นส่วนหนึ่งของงานอนุกรมวิธาน ซึ่งในยุคปัจจุบันได้ใช้หลายเทคนิคเข้ามาอธิบายผลการวิจัยร่วมกันเพื่อให้ผลวิเคราะห์ที่ได้มีหลักฐานแน่นหนา เช่น การวิเคราะห์จีโนม การใช้ rDNA สายสั้นเพื่อสร้าง phylogenetic tree หรือ การวิเคราะห์ Mass Peptide Finger print (MPF) เพื่อตรวจสอบความเหมือนและความต่างของชนิดหรือสายพันธุ์โดยนำผลการอ่านมวลเปปไทด์เปรียบเทียบกันเป็นต้น เทคนิคดังกล่าวกลายมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ แต่ยังคงรองลงมาจากใช้ลักษณ์ทางสัณฐานวิทยาอย่างละเอียด ที่เห็นด้วยตา และ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งเป็นหลักในการทำงานอนุกรมวิธานกับกลุ่มเห็ดราขนาดใหญ่ หรือ กลุ่มของรา สื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ที่ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ หรือ National Biobank of Thailand (NBT) ได้จัดทำหลักๆ จึงเกี่ยวข้องกับงานอนุกรมวิธาน ซึ่งมีรายละเอียดแยกย่อยออกเป็น วิธีการสำรวจภาคสนาม วิธีการบันทึกรายละเอียดตัวอย่างจากภาคสนาม วิธีการถ่ายภาพภาคสนาม วิธีการถ่ายภาพทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Plate) วิธีการศึกษาใต้กล้อง การวาดภาพใต้กล้อง (Illustration) นอกจากวิธีการศึกษาพื้นฐานแล้วยังมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น การค้นพบสารสำคัญ สารออกฤทธิ์ทั้งสารใหม่ และ สารที่เคยพบแล้ว เป็นต้น และยังมีองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ นิเวศวิทยา การกระจายตัวของประชากรในแต่ละพื้นที่สำคัญ ที่ภาคีเสนอให้เข้าไปช่วยทำงานวิจัย ตัวอย่างเช่น จังหวัดอำนาจเจริญ สตูลจีโอพาร์โลก เป็นต้น #OERThailand #NBTBiobank, #NBTMicrobe

  • เห็ดกลุ่มรังนก (Birdnest Fungi) "สกุลใหม่ของโลก"

    นอกจากแปลกตาแล้วยังพบได้ยากมากที่สุด เนื่องจากขนาดเล็กมาก เพียง 5-10 มม. เท่านั้น ในปัจจุบันมีการค้นพบเฉพาะเขตร้อน โดยครั้งแรกพบที่ประเทศศรีลังกา ปี 1919 ครั้งที่สองพบที่ รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา และค้นพบอีกครั้งในประเทศไทยในปี 2006 โดยนักวิจัยธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ ดร.รัตเขตร์ เชยกลิ่น งานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ และ University of Florida โดยมี ดร.ณัฐพล ไกรสิทธิ์อุดมสุข เป็นผู้วิจัยต่อยอด เอกลักษ์หลักที่พบจนได้เปลี่ยนชื่อสกุล เป็นผลจากงานวิจัยด้านสัณฐานวิทยา ควบคู่กับอณูชีวโมเลกุล พบว่า ตัวอย่างทั้งสี่มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน บริเวณชั้นเนื้อเยื่อผนังด้านใน หรือ peridiole cortex ที่เป็นโครงสร้างแบบร่างแห และมีผนังเซลล์หนา ในส่วนนี้จึงได้นำปตั้งชื่อสกุลใหม่คือ Retiperidiolia แปลว่า ผนังเนื้อเยื่อด้านในหรือ peridiole มีลักษณะ reticula หรือ ร่างแห นั่นเอง รวมถึง พบเซลล์สร้างสปอร์มีสองแบบคือ ทั้งที่เป็น 2 และ 4 สปอร์ ตัวอย่างจากประเทศไทย ค้นพบที่ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน ถึงสองตัวอย่างซึ่งคิดเป็นร้อยละห้าสิบของที่พบทั่วโลก จะเห็นว่าการค้นพบนั้นเป็นระยะเวลายาวนานและการนำมาวิเคราะห์ใหม่กับตัวอย่างทั่วโลกที่พบทำให้เปิดเผยข้อมูลใหม่ๆ ขึ้นมาอีกซึ่งผลจาก Phylogenetic Tree สนับสนุนข้อมูลด้านสัณฐานวิทยาว่ามีวิวัฒนาการที่แยกออกมาจากสกุล Mycocaria และถ้าท่านพบสองสกุลนี้จุดที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนคือบริเวณโครงสร้างผนังชั้นใน peridiole นั่นเอง เห็ดดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Mycological Progress volume 21, Article number: 56 (2022) ตัวอย่างแห้งของประเทศไทย ถูกเลือกเป็น Epitype เก็บรักษาที่ BIOTEC Bangkok Herbarium & Fungarium (BBH) ประเทศไทย ส่วนตัวอย่างต้นแบบ Holotype เก็บที่ Botanical Garden ประเทศศรีลังกา สนใจสามารถติดตามวารสารนานาชาติ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหางานชิ้นนี้ได้ที่ Journal "Mycological Progress" Vol 21(56); 2022 ลิงค์อ้างอิงวารสาร Kraisitudomsook, N., Choeyklin, R., Boonpratuang, T. et al. Hidden in the tropics: Retiperidiolia gen. nov., a new genus of bird’s nest fungi (Nidulariaceae), and a systematic study of the genus Mycocalia. Mycol Progress21, 56 (2022). DOI Link สนใจ download โปสเตอร์ได้ที่ คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด ภายใต้โครงการ โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติฯ โปสเตอร์ และภาพจาก เห็ดกลุ่มรังนก (Birdnest Fungi) "สกุลใหม่ของโลก" ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.

bottom of page