top of page

Search Results

พบ 47 รายการสำหรับ ""

  • เงื่อนไขการพิจารณาตัวอย่างเพื่อการรับฝาก

    เงื่อนไขการพิจารณาตัวอย่างเพื่อการรับฝาก ผู้จัดการ และ หรือ ผู้ช่วยผู้จัดการพิจารณาตัวอย่างเพื่อรับฝากมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ Document Code of ISO9001 References I-NS-NBT-01 เงื่อนไข ตัวอย่างต้องไม่ปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ประเภทอื่น ตัวอย่างต้องอยู่สภาพดี เช่น ไม่เน่าเปื่อยหรือเกือบจะเน่าเปื่อย ตัวอย่างไม่กรอบมากเกินไป (ซึ่งเกิดจากตัวอย่างถูกอบที่อุณหภูมิสูงมากเกินไป) ตัวอย่างต้องไม่มีแมลงหรือไข่แมลงอาศัยอยู่ กรณีนี้สามารถใช้ขบวนการการกำจัดไข่แมลงแบบแช่แข็ง ตัวอย่างที่อุณหภูมิ -20C ตามขั้นตอนการเก็บรักษาตัวอย่างในข้อ 3.2 ก่อนการรับฝาก ตัวอย่างที่นำฝากในรูปแบบของ Microscopic Slide ต้องอยู่ในรูปแบบของ Slide ถาวร ทำการปิดผนึกอย่างดี มีป้ายบอกชื่อตัวอย่างชัดเจน Slide ต้องผ่านการทำความสะอาดไม่มีการปนเปื้อนราชนิดอื่นแล้ว ตัวอย่างที่นำฝากในรูปแบบของ Microscopic Slide ต้องอยู่ในรูปแบบของ Slide ถาวร ทำการปิดผนึกอย่างดี มีป้ายบอกชื่อตัวอย่างชัดเจน Slide ต้องผ่านการทำความสะอาดไม่มีการปนเปื้อนราชนิดอื่นแล้ว

  • Portfolio

    ประวัติ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา พิพิธภัณฑ์เห็ดรา หรือ BIOTEC Bangkok Herbarium (BBH) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อย่อสถานที่เก็บตัวอย่างเห็ดราคือ NBCRC herbarium โดยมี ดร.ไนเจล ไฮเวลโจนส์ เป็นผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการราวิทยาหัวหน้าห้องปฏิบัติการศึกษากลุ่มราก่อให้เกิดโรคในแมลง ร่วมกับ ทีมเห็ดราขนาดใหญ่ โดยมี ศาสตราจารย์ เกียรติ์คุณ ดร.โรเบริด เจแบนโดนี่ และ ศาสตราจารย์ เกียรติ์คุณ ทิมโมที ฟลีเจล ผู้ก่อตั้งทีมงานวิจัยเห็ดราขนาดใหญ่ของ สวทช. ​ ตัวอย่างเริ่มต้นการจัดเข้าสู่ระบบ และ ขึ้นทะเบียนกลุ่มแรกจำนวน +15,000 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็นราก่อให้เกิดโรคในแมลงจำนวน +12,000 ตัวอย่าง และ เห็ดราขนาดใหญ่จำนวน +2,500 ตัวอย่าง ยุคแรก จากปี 2539 มีการก่อตั้งห้องปฏิบัติการราวิทยา นักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับ โลกได้มารวมตัวกันและสร้างงานวิจัยที่หลากหลายด้าน โดยเฉพาะ ดร.ไนเจล ไฮเวลโจนส์ ได้ทุ่มเทกำลังกายและใจก่อตั้งกลุ่มวิจัยงานด้านราก่อให้เกิดโรคในแมลง โดยเริ่มต้นจากการเป็นนักกีฎวิทยา ศึกษาด้านประชากรแมลง เปลี่ยนมาเป็นนักอนุกรมวิธานด้านราก่อให้เกิดโรคบนแมลง กลายมาเป็นกลุ่มที่พบความหลากหลายสูงมากที่สุดในโลก ซึ่งตัวอย่างแห้งทั้งหมดของงานวิจัยนี้ได้จัดเก็บ ณ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา ตัวอย่างรหัสแรกที่ได้รับการฝาก คือ NHJ00632 Aschersonia cf. paraphysata ตัวอย่างเก็บจาก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537 ณ วันนั้นตัวอย่างราก่อให้เกิดโรคในแมลง เป็นหนึ่งในกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน +10,000 ตัวอย่าง ตัวอย่างเห็ดราขนาดใหญ่ หรือ Marco fungi นำโดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ โรเบริด แบนโดนี และ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ทิมโมที วิเลียม ฟลีเกล ได้มีการเก็บรวบรวมตัวอย่างจากการสำรวจครั้งที่สองของประเทศไทย ที่มีผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติเข้าร่วมงาน ในปี 2539 ตัวอย่างแรกที่ฝากคือ RJB7753 Auricularia mesenterica (Dicks.) Pers. (1822) วันที่ 10 สิงหาคม 2529 จัดจำแนกโดย Julieta Carranza ในช่วงปีนั้นเป็น ตัวอย่างของเห็ดราขนาดใหญ่กลุ่มนี้มีประมาณ 2500 ตัวอย่าง ยุคแรก (ช่วงที่สอง) การศึกษาราจากธรรมชาติในป่าไม้ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 10-12 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพของราทำลายแมลงในประเทศไทย ได้เริ่มต้นงานวิจัยตั้งแต่ปี 2532 ณ ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ หรือ the National Biological Control Research Center ขณะนั้นมี ดร.บรรพจ ณ ป้อมเพชร สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ในช่วงเวลาดังกล่าวข้อมูลทั้งหมดใช้รูปแบบการจัดเก็บฐานข้อมูลด้วย Borland's Paradox นอกจากกลุ่มงานวิจัยความหลากหลายของราก่อให้เกิดโรคในแมลงแล้ว งานวิจัยด้านความหลากหลายของเห็ดราขนาดใหญ่ก็ได้เริ่มต้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน โดยมีผู้เชี่ยวชาญนำคณะโดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ โรเบริต์ เจ เบนโดนี และศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ทิมโมที วิลเลี่ยม ฟลีเจล ซึ่งขณะนั้นทำงานเป็นอาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินงานร่วมกับ ศาสตราจารย์ มรกต ตันติเจริญ ผอ. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC) จึงได้เริ่มเปิดการศึกษาวิจัยอนุกรมวิธานและจัดระบบการจัดการตัวอย่าง ตั้งแต่ปี 2529 ณ BIOTEC ยุคแรก (ช่วงที่สาม) ต่อมา ดร.ไนเจล ไฮเวล-โจนส์ และทีมวิจัยด้าน "ราก่อให้เกิดโรคในแมลง" ได้ย้ายจาก ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ หรือ the National Biological Control Research Center มาประจำ ณ BIOTEC ในปี 2537 และได้มีการ ก่อตั้ง "ห้องปฏิบัติการราวิทยา" หรือ Mycology Laboratory ในช่วงเดือน สิงหาคม ปี 2539 ในขณะเดียวกันกลุ่มงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพด้าน "เห็ดราขนาดใหญ่" นำกลุ่มศึกษาโดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ โรเบริต์ เจ เบนโดนี และ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ทิมโมที วิลเลี่ยม ฟลีเจล ได้เข้าร่วมกลุ่มงานของห้องปฏิบัติการราวิทยาในขณะเดียวกัน Show More

  • 2529-2530

    ยุคแรก 2529-2530 จากปี 2539 มีการก่อตั้งห้องปฏิบัติการราวิทยา นักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับ โลกได้มารวมตัวกันและสร้างงานวิจัยที่หลากหลายด้าน โดยเฉพาะ ดร.ไนเจล ไฮเวลโจนส์ ได้ทุ่มเทกำลังกายและใจก่อตั้งกลุ่มวิจัยงานด้านราก่อให้เกิดโรคในแมลง โดยเริ่มต้นจากการเป็นนักกีฎวิทยา ศึกษาด้านประชากรแมลง เปลี่ยนมาเป็นนักอนุกรมวิธานด้านราก่อให้เกิดโรคบนแมลง กลายมาเป็นกลุ่มที่พบความหลากหลายสูงมากที่สุดในโลก ซึ่งตัวอย่างแห้งทั้งหมดของงานวิจัยนี้ได้จัดเก็บ ณ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา ตัวอย่างรหัสแรกที่ได้รับการฝาก คือ NHJ00632 Aschersonia cf. paraphysata ตัวอย่างเก็บจาก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537 ณ วันนั้นตัวอย่างราก่อให้เกิดโรคในแมลง เป็นหนึ่งในกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน +10,000 ตัวอย่าง ตัวอย่างเห็ดราขนาดใหญ่ หรือ Marco fungi นำโดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ โรเบริด แบนโดนี และ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ทิมโมที วิเลียม ฟลีเกล ได้มีการเก็บรวบรวมตัวอย่างจากการสำรวจครั้งที่สองของประเทศไทย ที่มีผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติเข้าร่วมงาน ในปี 2539 ตัวอย่างแรกที่ฝากคือ RJB7753 Auricularia mesenterica (Dicks.) Pers. (1822) วันที่ 10 สิงหาคม 2529 จัดจำแนกโดย Julieta Carranza ในช่วงปีนั้นเป็น ตัวอย่างของเห็ดราขนาดใหญ่กลุ่มนี้มีประมาณ 2500 ตัวอย่าง 1/1 < Previous Work Next Work >

  • นายประเสริฐ ศรีกิติกุลชัย

    นายประเสริฐ ศรีกิติกุลชัย หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยไซราเรีย More information prasert.sri@nstda.or.th 662 564 7000 ต่อ 71459

  • Ganoderma sichuanense J.D. Zhao & X.Q. Zhang (1983)

    Ganoderma sichuanense J.D. Zhao & X.Q. Zhang (1983) Specimen ID Collected date RSPG00226 23 สิงหาคม 2561 17:00:00 Collected by ธิติยา บุญประเทือง รัตเขตร์ เชยกลิ่น ประภาพรรณ ซอหะซัน มณีรัตน์ พบความสุข ทักษพร ธรรมรักษ์เจริญ ภัทรชัย จุฑามาศ พัชรา โชติจิตรากรณ์ ณัฐวุฒิ วิริยะธนาวุฒิวงษ์ และสิริวรรณ ณ บางช้าง Identified by รัตเขตร์ เชยกลิ่น Collected Site ประเทศไทย จังหวัดอำนาจเจริญ Habit, habitat, substrate ขึ้นเป็นดอกเดี่ยว ไม่รวมกลุ่ม เจริญบนดินใต้รากของต้นไม้ Macroscopic Description สัณฐานวิทยาที่มองเห็นด้วยตา ดอก (basidiocarps) ดอกคล้ายพัด กว้าง 25 × 50 มม. ผิวมันวาว เรียบ ลักษณะเนื้อเหมือนไม้ ขึ้นเป็นชั้นเหมือนวงปี หรือเป็นโซน บริเวณริมขอบหมวกชั้นนอกสุดเป็นสีขาว (รหัสสี OAC816) ถัดเข้ามาชั้นที่สองเป็นสีเหลืองสด (รหัสสี OAC854) ถัดเข้ามาสีส้ม (รหัสสี OAC789) ถัดเข้ามาเกลือบถึงก้านสีส้มแดง (OAC636-637) รู จำนวน 3–4 รูต่อมม. ขอบรูสีเหลืองปนเทา (รหัสสี OAC827) เมื่อแก่ รูสีครีมเมื่ออ่อน ก้าน กว้าง 5 มม. ยาว 120 มม. ยึดติดด้านข้างดอก ทรงกระบอก โคนกว้าง ผิวมันวาว ไม่เรียบ สีน้ำตาลแดง (OAC636-637) Microscopic Description สัณฐานวิทยาที่มองเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เบซิดิโอสปอร์ (Basidiospores) ขนาด 4–7 × 8–10 µm รูปร่างทรงรี เรียบ ผนังหนา ใสไม่มีสี ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (inamyloid) ให้สีเหลืองเป็นสีเดียวกับสารละลาย Melzer ที่ใช้ทดสอบเบซิดิโอเลส (Basidioles) ขนาด 2–6 × 15–25 µm ทรงกระบองตรงปลายกว้างกว่าโคนเล็กน้อย เรียบ ใสไม่มีสี เซลล์สร้างสปอร์ (Basidia) ไม่พบ เซลพิเศษ (Cystidia) ไม่พบ โครงสร้างเส้นใย (Hyphal system) พบลักษณะของเส้นใย เป็นเส้นใยประสานมีผนังหนา แตกแขนง ไม่มีผนังกั้น (Binding hyphae) และ เส้นใยที่มีผนังหนา ไม่แตกแขนง ไม่มีผนังกั้น (skeleton hyphae) ลักษณะเส้นใยเป็นทรงกระบอก เรียงขนานแนวระนาบ ขนาดกว้าง 2–3 µm เรียบ ไม่มีสี ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (inamyloid) ให้สีเหลืองเป็นสีเดียวกับสารละลาย Melzer ที่ใช้ทดสอบ Ganoderma sichuanense J.D. Zhao & X.Q. Zhang (1983) Ganoderma sichuanense J.D. Zhao & X.Q. Zhang (1983) Ganoderma sichuanense J.D. Zhao & X.Q. Zhang (1983) Ganoderma sichuanense J.D. Zhao & X.Q. Zhang (1983) 1/1

  • Auricularia thailandica Bandara & K.D. Hyde 2015

    Auricularia thailandica Bandara & K.D. Hyde 2015 Specimen ID Collected date RSPG02177 23 ธันวาคม 2562 05:00:00 Collected by Thitiya Boonpratuang, Rattaket Choeyklin, Maneerat Pobkwamsuk, Sakoakan Anaphon and Thanikan Niamtaeng and Komsit Wisitrassameewong Identified by Thitiya Boonpratuang Collected Site Collecting site at Satun, Satun Geopark Community Forest. Habit, habitat, substrate Specimen growing on hard wood or lignicolous habit and growing in group or connate (base fused). Macroscopic Description Pileus conchate to flabelliform, virgate disc, decurved to straight margin, moist to viscid, smooth surface, soft texture, reddish brown color. Hymenophore smooth, dry, moist, jelly texture, sessile and stipe absent, pinkish cream color. Odor none. Microscopic Description Basidiospores 11–14 µm length × 4–5 µm width, phaseoliform, ornamentation, smooth, thin walled, color in KOH3%, hyaline in water and inamyloid in Melzer’s reagent. Basidia 25–41 µm length × 4–6 µm width, cylindrical, smooth, septate, ornamentation, thin walled, hyaline, colorless in KOH3%, inamyloid in Melzer’s reagent. Basidioles 25–41 µm length × 3–6 µm, cylindrical, smooth, septate, ornamentation, thin walled, hyaline, colorless in KOH3%, inamyloid in Melzer’s reagent. Abhymenial hairs composed of gregarious 30–50 µm length × 8–15 µm width, cylindrical to ventricose shape, flexuous, forked on apex, perpendicular, thick walled and segment of hyphae separated by septa, smooth, thick-walled, hyaline to brown in water, inamyloid in Melzer’s reagent, colorless in 3%KOH. Pileus Trama composed of gelatinous layer, interwoven hyphae, generative present, branched hyphae, segment of hyphae separated by septa, some of hyphae eccentric, smooth, thin-walled, colorless in 3%KOH, hyaline in water and inamyloid in Melzer’s reagent. Auricularia thailandica Bandara & K.D. Hyde 2015 Auricularia thailandica Bandara & K.D. Hyde 2015 Auricularia thailandica Bandara & K.D. Hyde 2015 Auricularia thailandica Bandara & K.D. Hyde 2015 1/1

  • Amanita hemibapha (Berk. & Broome) Sacc. (1887)

    Amanita hemibapha (Berk. & Broome) Sacc. (1887) Specimen ID Collected date BEDO00065 4 มิถุนายน 2561 17:00:00 Collected by สายัณห์ สมฤทธิผล ธิติยา บุญประเทือง รัตเขตร์ เชยกลิ่น ณัฐวุฒิ วิริยะธนาวุฒิวงษ์ มณีรัตน์ พบความสุข และ สิริวรรณ ณ บางช้าง Identified by ธิติยา บุญประเทือง Collected Site ประเทศไทย จังหวัดสกลนคร Habit, habitat, substrate ขึ้นรวมตัว ขึ้นบนดิน Macroscopic Description สัณฐานวิทยาที่มองเห็นด้วยตาเปล่า หมวกดอก (Pileus) ขนาด 40 – 75 mm เป็นรูปทรงกระทะคว่ำ สีเหลืองเข้มถึงส้ม ผิวเรียบเป็นมันวาว ขอบเป็นร่องเห็นชัดเจนโดยรอบ เนื้อเยื่อหมวกดอก (Pileus context) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อทดสอบในสารละลาย 3% โปแตสเซี่ยมไฮดรอกไซด์ (KOH3%) ครีบ (Lamellae) สีขาวนวล แผ่นบางๆ เรียงตัวถี่มาก ไม่ยึดติดกับก้าน ก้าน (Stipe) เป็นรูปทรงกระบอก ขนาด 10 –17 × 60 – 80 mm สีเหลืองอ่อน ผิวเรียบ ก้านกลวงแบบกว้าง เนื้อเยื่อภายในสีขาวและส่วนโคนใหญ่กว่าเล็กน้อย ด้านบนก้านมี วงแหวน (Annulus) สีเหลืองอ่อน แผ่นบางๆ ผิวมีขนเล็กน้อยโดยรอบและ ถุงหุ้มโคนก้าน (Volva) เป็นเปลือกหุ้มรูปถ้วย สีน้ำตาล แผ่นบาง ผิวขรุขระซึ่งมีความยาวยาวเป็น 2 ใน 3 ของความยาวก้านจากด้านบนหรือจากฐานก้าน Microscopic Description เบซิดิโอสปอร์ (Basidiospores) ขนาด 6–7 × (8–) 9–10 µm สีครีมใส รูปทรงรี ผนังบาง ผิวเรียบ มี oil ภายในเซลล์ และไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อทดสอบในสารละลาย 3% โปแตสเซี่ยมไฮดรอกไซด์ (KOH3%) เซลล์สร้างสปอร์ (Basidia) 5–11 × 23–39 µm รูปทรงกระบอก ผนังบาง ผิวเรียบ ส่วนโคนมีขนาดเล็กกว่าและมีก้านชูสปอร์ 2–4 ก้าน เบซิดิโอเลส (Basidioles) ขนาด 5–9 × 23–33 µm รูปทรงกระบอก ผนังหนา ผิวเรียบ ส่วนโคนมีขนาดเล็กกว่าและบางอันมี oil ภายในเซลล์ ไม่พบเซลพิเศษด้านข้างครีบ (Pleurocystidia) เซลพิเศษด้านขอบครีบ (Cheilocystidia) และ เซลพิเศษชั้นผิวก้านดอก (Caulocystidia) หมวกมีโครงสร้างเส้นใยแบบเชิงเดี่ยวพบเซลล์แบบทรงกระบอกเรียงตัวแบบร่างแห เซลล์กว้าง 1 – 7 µm ผนังชั้นเดียว ผิวเรียบประกอบกับเซลล์พิเศษแทรกอยู่ระหว่างการเรียงตัวของเส้นใยทรงกระบอกปลายกว้างกว่าโคน 1 เท่า ขนาด 5.8 –10.5 × 16.8 – 25.3 µm และบริเวณรอยเชื่อมต่อระหว่างเซลล์พบ ตะขอเชื่อมเส้นใย (Clamp connection) เนื้อเยื่อของวงแหวน (Annulus trama) มีโครงสร้างเส้นใยแบบเชิงเดี่ยวทรงกระบอกสานกันแบบหลวมๆ ขนาดกว้าง 2 – 6 µm ผนังบางและผิวเรียบประกอบร่วมกับเซลล์พิเศษแทรกอยู่ระหว่างเซลล์หลักทรงกระบอก เซลล์พิเศษทรงกลม ขนาด 19 – 35 × 29 – 69 µm ผนังบาง ผิวเรียบและบริเวณเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ทรงกระบอกพบ ตะขอเชื่อมเส้นใย (Clamp connection) โครงสร้างก้านเป็นแบบเส้นใยเชิงเดี่ยวทรงกระบอกยาวเรียงขนานกัน ขนาดกว้าง 3 – 6.5 µm ผนังบาง ผิวเรียบและบริเวณรอยเชื่อมต่อเซลล์ทรงกระบอกพบ ตะขอเชื่อมเส้นใย (Clamp connection) ส่วนของ เนื้อเยื่อถุงหุ้มก้าน (Volva trama) มีลักษณะเส้นใยเชิงประกอบ พบการประกอบกันของเซลล์ 2 ลักษณะเรียงต่อและสานกันแบบร่างแหและแทรกด้วยเซลล์พิเศษ เซลล์หลักทรงกระบอก กว้าง 7–19 µm ผนังบาง ผิวเรียบ เซลล์พิเศษลักษณะรี ขนาด 24.2–32.6 × 32.7–51.6 µm ผนังหนาและผิวเรียบ บริเวณเชื่อมต่อของเซลล์พบ ตะขอเชื่อมเส้นใย (Clamp connection) Amanita hemibapha (Berk. & Broome) Sacc. (1887) Amanita hemibapha (Berk. & Broome) Sacc. (1887) Amanita hemibapha (Berk. & Broome) Sacc. (1887) Amanita hemibapha (Berk. & Broome) Sacc. (1887) 1/1

  • Projects1

    Projects

  • Projects

    Funga of Thailand โครงการ Funga of Thailand ที่กลุ่มงานวิจัยเห็ดราคิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่สนใจศึกษาด้านอนุกรมวิธานและเข้าใจลักษณะทางสัณฐานวิทยาอย่างละเอียดของชนิดเห็ดราที่พบในประเทศไทย ซึ่งมีความหลากชนิดจำนวนสูง เนื้อหาในเวปนี้จะประกอบด้วยคำบรรยายลักษณะทางสัณฐานวิทยาภายนอก ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พฤติกรรมของเห็ดราที่พบ ภาพประกอบทั้งที่อยู่ในภาคสนาม ใต้กล้อง Stereo zoom หรือ ภาพวาด ภาพถ่ายภายใต้กล้องจุลทรรศน์และข้อมูลสำคัญเพื่อการบ่งบอกชนิดนั้นๆ อย่างละเอียด และนี่คือมาตรฐานการจัดทำลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเห็ดราในประเทศไทย Acervus globulos Ekanayaka, Q. Zhao & K.D. Hyde 2016 อ่านเพิ่มเติม Amanita cf. populiphila Tulloss & E. Moses 1995 อ่านเพิ่มเติม Amanita hemibapha (Berk. & Broome) Sacc. (1887) อ่านเพิ่มเติม Auricularia thailandica Bandara & K.D. Hyde 2015 อ่านเพิ่มเติม Boletinellus merulioides (Schwein.) Murrill 1909 อ่านเพิ่มเติม Cookeina garethjonesii Ekanayaka, Q. Zhao & K.D. Hyde 2016 อ่านเพิ่มเติม Ganoderma carnosum Pat. (1889) อ่านเพิ่มเติม Ganoderma sichuanense J.D. Zhao & X.Q. Zhang (1983) อ่านเพิ่มเติม 8 จำนวนตัวอย่าง 8 จำนวนชนิด

  • 2540-2542

    ยุคที่สอง (ช่วงที่สอง) 2540-2542 จากความกังวลดังกล่าว ทาง BIOTEC จึงสนับสนุนให้ดำเนินกิจกรรมบริหารจัดการตัวอย่างแห้ง ภายใต้ชื่อ BBH โดยมีความพยายาม ร่วมกับฝ่ายกฎหมายระหว่างประเทศ หรือ ฝ่ายกฎหมายด้านสิทธิบัตร ให้ความรู้นักวิจัยที่ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ให้พิจารณาการฝากเก็บตัวอย่างไว้ในประเทศไทยเพื่อ หลีกเลี่ยงการนำ "ชีววัสดุที่เป็นของประเทศไทย" ออกนอกประเทศ แต่การศึกษาวิจัยในยุคนั้น หลีเลี่ยงที่จะนำวัสดุออกนอกประเทศ เพื่อการศึกษาเชิงลึกไม่ได้ ดังนั้น BIOTEC จึงพยายามสร้างเอกสารสัญญาฉบับหนึ่ง "ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายวัสดุชีวภาพ หรือ Material Transfer Agreement ย่อว่า MTA" โดยมีวัตถุประสงค์หลักเรื่องการกำหนดความเป็นเจ้าของ การกำหนดขอบเขตการศึกษา การแจ้งผลการศึกษาต่อผู้เป็นเจ้าของทรัพยากร และการแบ่งปันผลประโยชน์ ของวัสดุชีวภาพที่ถูกเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศ โดยเฉพาะวัสดุที่ยังมีชีวิต หรือ culture material เพื่อป้องปรามไม่ให้เกิดการผิดจริยธรรมในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในต่างประเทศ โดยผู้เป็นเจ้าของไม่ทราบและตัวอย่างแห้งนั้นมีความสำคัญมาก เพราะไม่สามารถเพิ่มปริมาณได้เช่นเดียวกับ เชื้อจุลินทรีย์ แต่จะเป็นตัวอย่างอ้างอิงของเชื้อที่นำไปใช้ประโยชน์นั้นและเป็นหลักฐานการตรวจสอบย้อนกลับอีกด้วย 1/2 < Previous Work Next Work >

  • 2537-2539

    ยุคแรก (ช่วงที่สาม) 2537-2539 ต่อมา ดร.ไนเจล ไฮเวล-โจนส์ และทีมวิจัยด้าน "ราก่อให้เกิดโรคในแมลง" ได้ย้ายจาก ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ หรือ the National Biological Control Research Center มาประจำ ณ BIOTEC ในปี 2537 และได้มีการ ก่อตั้ง "ห้องปฏิบัติการราวิทยา" หรือ Mycology Laboratory ในช่วงเดือน สิงหาคม ปี 2539 ในขณะเดียวกันกลุ่มงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพด้าน "เห็ดราขนาดใหญ่" นำกลุ่มศึกษาโดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ โรเบริต์ เจ เบนโดนี และ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ทิมโมที วิลเลี่ยม ฟลีเจล ได้เข้าร่วมกลุ่มงานของห้องปฏิบัติการราวิทยาในขณะเดียวกัน 1/2 < Previous Work Next Work >

  • นางสาววันโรสมาณี ดอเลาะ

    นางสาววันโรสมาณี ดอเลาะ ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัยกลุ่มเห็ด More information wanrosmani.dol@ncr.nstda.or.th 662 564 7000 ต่อ 71454

bottom of page