ยุคแรก (ช่วงที่สอง)
2530-2537
การศึกษาราจากธรรมชาติในป่าไม้ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 10-12 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพของราทำลายแมลงในประเทศไทย ได้เริ่มต้นงานวิจัยตั้งแต่ปี 2532 ณ ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ หรือ the National Biological Control Research Center ขณะนั้นมี ดร.บรรพจ ณ ป้อมเพชร
สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ในช่วงเวลาดังกล่าวข้อมูลทั้งหมดใช้รูปแบบการจัดเก็บฐานข้อมูลด้วย Borland's Paradox
นอกจากกลุ่มงานวิจัยความหลากหลายของราก่อให้เกิดโรคในแมลงแล้ว งานวิจัยด้านความหลากหลายของเห็ดราขนาดใหญ่ก็ได้เริ่มต้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน โดยมีผู้เชี่ยวชาญนำคณะโดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ โรเบริต์ เจ เบนโดนี และศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ทิมโมที วิลเลี่ยม ฟลีเจล ซึ่งขณะนั้นทำงานเป็นอาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินงานร่วมกับ ศาสตราจารย์ มรกต ตันติเจริญ ผอ. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC) จึงได้เริ่มเปิดการศึกษาวิจัยอนุกรมวิธานและจัดระบบการจัดการตัวอย่าง ตั้งแต่ปี 2529 ณ BIOTEC