top of page

Ganoderma sichuanense J.D. Zhao & X.Q. Zhang (1983)

Specimen ID

Collected  date

RSPG00226

23 สิงหาคม 2561 17:00:00

Collected   by

ธิติยา บุญประเทือง รัตเขตร์ เชยกลิ่น ประภาพรรณ ซอหะซัน มณีรัตน์ พบความสุข ทักษพร ธรรมรักษ์เจริญ ภัทรชัย จุฑามาศ พัชรา โชติจิตรากรณ์ ณัฐวุฒิ วิริยะธนาวุฒิวงษ์ และสิริวรรณ ณ บางช้าง

Identified   by

รัตเขตร์ เชยกลิ่น

Collected Site

ประเทศไทย จังหวัดอำนาจเจริญ

Habit,  habitat, substrate

ขึ้นเป็นดอกเดี่ยว ไม่รวมกลุ่ม เจริญบนดินใต้รากของต้นไม้

Macroscopic Description

สัณฐานวิทยาที่มองเห็นด้วยตา ดอก (basidiocarps) ดอกคล้ายพัด กว้าง 25 × 50 มม. ผิวมันวาว เรียบ ลักษณะเนื้อเหมือนไม้ ขึ้นเป็นชั้นเหมือนวงปี หรือเป็นโซน บริเวณริมขอบหมวกชั้นนอกสุดเป็นสีขาว (รหัสสี OAC816) ถัดเข้ามาชั้นที่สองเป็นสีเหลืองสด (รหัสสี OAC854) ถัดเข้ามาสีส้ม (รหัสสี OAC789) ถัดเข้ามาเกลือบถึงก้านสีส้มแดง (OAC636-637) รู จำนวน 3–4 รูต่อมม. ขอบรูสีเหลืองปนเทา (รหัสสี OAC827) เมื่อแก่ รูสีครีมเมื่ออ่อน ก้าน กว้าง 5 มม. ยาว 120 มม. ยึดติดด้านข้างดอก ทรงกระบอก โคนกว้าง ผิวมันวาว ไม่เรียบ สีน้ำตาลแดง (OAC636-637)

Microscopic Description

สัณฐานวิทยาที่มองเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เบซิดิโอสปอร์ (Basidiospores) ขนาด 4–7 × 8–10 µm รูปร่างทรงรี เรียบ ผนังหนา ใสไม่มีสี ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (inamyloid) ให้สีเหลืองเป็นสีเดียวกับสารละลาย Melzer ที่ใช้ทดสอบเบซิดิโอเลส (Basidioles) ขนาด 2–6 × 15–25 µm ทรงกระบองตรงปลายกว้างกว่าโคนเล็กน้อย เรียบ ใสไม่มีสี เซลล์สร้างสปอร์ (Basidia) ไม่พบ เซลพิเศษ (Cystidia) ไม่พบ โครงสร้างเส้นใย (Hyphal system) พบลักษณะของเส้นใย เป็นเส้นใยประสานมีผนังหนา แตกแขนง ไม่มีผนังกั้น (Binding hyphae) และ เส้นใยที่มีผนังหนา ไม่แตกแขนง ไม่มีผนังกั้น (skeleton hyphae) ลักษณะเส้นใยเป็นทรงกระบอก เรียงขนานแนวระนาบ ขนาดกว้าง 2–3 µm เรียบ ไม่มีสี ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (inamyloid) ให้สีเหลืองเป็นสีเดียวกับสารละลาย Melzer ที่ใช้ทดสอบ

bottom of page