top of page
%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%259A%25E0%25B8

ความเป็นมา

พิพิธภัณฑ์เห็ดรา

พิพิธภัณฑ์เห็ดรา หรือ BIOTEC Bangkok Herbarium (BBH) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อย่อสถานที่เก็บตัวอย่างเห็ดราคือ NBCRC โดยมี
ดร.ไนเจล ไฮเวลโจนส์ เป็นผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการราวิทยา ในขณะนั้น 

ยุคแรก

ปี  2539 -   2545

จากปี 2539 มีการก่อตั้งห้องปฏิบัติการราวิทยา นักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับ โลกได้มารวมตัวกันและสร้างงานวิจัยที่หลากหลายด้าน โดยเฉพาะ ดร.ไนเจล ไฮเวลโจนส์ ได้ทุ่มเทกำลังกายและใจก่อตั้งกลุ่มวิจัยงานด้านราก่อให้เกิดโรคในแมลง โดยเริ่มต้นจากการเป็นนักกีฎวิทยา ศึกษาด้านประชากรแมลง เปลี่ยนมาเป็นนักอนุกรมวิธานด้านราก่อให้เกิดโรคบนแมลง กลายมาเป็นกลุ่มที่พบความหลากหลายสูงมากที่สุดในโลก ซึ่งตัวอย่างแห้งทั้งหมดของงานวิจัยนี้ได้จัดเก็บ ณ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา ตัวอย่างรหัสแรกที่ได้รับการฝาก คือ NHJ00632 Aschersonia cf. paraphysata  ตัวอย่างเก็บจาก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537 ณ วันนั้นตัวอย่างราก่อให้เกิดโรคในแมลง เป็นหนึ่งในกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน +10,000 ตัวอย่าง

 

ตัวอย่างเห็ดราขนาดใหญ่ หรือ Marco fungi นำโดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ โรเบริด แบนโดนี และ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ทิมโมที วิเลียม ฟลีเกล ได้มีการเก็บรวบรวมตัวอย่างจากการสำรวจครั้งที่สองของประเทศไทย ที่มีผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติเข้าร่วมงาน ในปี 2539  ตัวอย่างแรกที่ฝากคือ RJB7753 Auricularia mesenterica (Dicks.) Pers. (1822) วันที่ 10 สิงหาคม 2529 จัดจำแนกโดย Julieta Carranza ในช่วงปีนั้นเป็น ตัวอย่างของเห็ดราขนาดใหญ่กลุ่มนี้มีประมาณ 2500 ตัวอย่าง

เหตุการณ์สำคัญช่วงเวลา 2529 - 2545 

2545 - 2550

ฺในปี 2545 BIOTEC และ โครงการ BRT หรือ Biodiversity Research and Technology Program อนุมัติเห็นชอบให้ลงทุนสร้างห้องจัดเก็บ herbarium หรือพิพิธภัณฑ์เห็ดรา ณ อาคาร Storage ให้เป็นสถานที่ๆ เหมาะสมในการจัดเก็บตัวอย่างที่ได้มาตรฐน โดยการปรับปรุงอาคาร มูลค่า 2.5 ลบ. เป็นการปรับปรุงโครงสร้าง พื้นห้อง ผนัง ฝ้าเพดาน โดยจัดทำเป็นห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น  Isowall panell และมีตู้รางเหล็กจัดเก็บตัวอย่าง ด้านนอกประกอบด้วยห้องปฏิบัติการของพิพิธภัณฑ์ฯ ส่วนโครงการ BRT มอบงบประมาณสำหรับปริหารจัดการตัวอย่างแห้งที่ ณ วันนั้นมี 25,000 ตัวอย่าง โดยอุดหนุนให้ปีละ 500,000 บาทเป็นระยะเวลา 2 ปี ระหว่างปี 2545 - 2547 โดยการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์เห็ดราจึงได้เปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการ นั้นดั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยมี ภัณฑารักษ์ คือ นางสาวธิติยา บุญประเทือง ดำเนินทุกกิจกรรม

2550 - 2554

เนื่องจาก พิพิธภัณฑ์เห็ดรา เป็นสถานที่เก็บตัวอย่างที่มีคุณค่าของประเทศไทย คือ  เก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิงที่เป็นหลักฐานการค้นพบของประเทศไทย ที่ไม่สามารถเพิ่มปริมาณได้ เช่นเดียวกับเชื้อจุลินทรีย์ จึงทำให้การบริหารจัดการ จำเป็นต้องวางมาตรการทำงานเพื่อคงคุณภาพของตัวอย่างดังกล่าวให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่นเดียวกับตัวอย่างจากหลายๆ พิพิธภัณฑ์ทั่วโลก เช่น Pharoh Herbarium ซึ่งมีอายุยืนยาวมาก ถึง 100 ปี และยังอยู่ในสภาพดีมาก คุณภาพตัวอย่างจะดีหรือไม่ได้นั้นขึ้นกับมาตรฐานในการจัดเก็บ ซึ่ง BBH ได้นำ Herbarium Handbook ศึกษาและใช้เป็นหลักในการทำงาน โดยนำมาประยุกต์ใช้ปรับปรุงวิธีการให้เข้ากับประเทศที่มีความชื้นสูง อย่างเช่นประเทศไทย และได้เล่งเห็นว่าการทำงานไม่ควรจะทราบเฉพาะในกลุ่มคนขนาดเล็ก แต่ต้องได้รับความเข้าใจและเห็นความสำคัญ จากบุคคลทุกระดับ จึงได้อาสาเข้าทำมาตรฐานระบบ ISO9001 ด้วยเหตุผลในการรักษาคุณภาพของตัวอย่าง รักษาระบบการบริหารจัดการ และ รักษาการบริการ โดยวิเคราะห์แล้วพบว่าขอบเขตการนำเข้าระบบควบคุมมาตรฐานจำนวน 2 ระบบคือ 1. ระบบรับฝากและตรวจสอบคุณภาพตัวอย่าง 2. ระบบการให้ยืมและรับคืนตัวอย่าง ซึ่งมีการปรับปรุงมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน (2564)

New2010 copy.jpg

2539 - 2540

จากการที่ The International Botanical Code ได้กำหนดไว้ว่า การนำฝากตัวอย่างกับสถานที่ใดๆ ก็ตาม สถานที่นั้น "ต้องได้รับการยอมรับ" หรือ "ขึ้นทะเบียนระดับนานาชาติ" จึงทำให้นักวิจัยก่อนปี 2539 ส่งตัวอย่างฝากเก็บ ณ พิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงในทวีปยุโรปหรืออเมริกา เพื่อป้องกันความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวอย่างที่เก็บได้จากประเทศไทย พิพิธภัณฑ์ที่นิยมนำฝาก เช่น Royal Botanic Gardens - Kew, IMINew York Botanical Gardens เป็นต้น

 

ภายใต้สนธิสัญญาด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระดับนานาชาติ หรือ Convention on Biodiversity, CBD (Rio, Earth Summit) ในที่ประชุมแสดงความกังวลเรื่องของการเคลื่อนย้าย "วัสดุชีวภาพ" ที่มีความหลากหลายสูงมากในประเทศที่อยู่ในแถบเขตร้อนชื้นไปสู่ประเทศที่มีงานวิจัยที่เข้มแข็งกว่า เช่น ยุโรป หรือ อเมริกา ไม่เฉพาะเพียงแต่เห็ดรา แต่พืชก็เป็นอีกหนึ่งวัสดุชีวภาพ ที่ถูกระบุอยู่ในความกังวลของ CBD เช่นเดียวกัน งานวิจัยที่จะนำวัสดุชีวภาพออกนอกประเทศไปนั้นส่วนมากต้องการนำออกไปในรูปแบบของการค้า แต่กลับอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยด้านวิชาการในพิพิธภัณฑ์ที่ต่างประเทศเท่านั้น จากเหตุนี้จึงเป็นที่มาความคิดในการดำเนินกิจกรรมของเก็บตัวอย่างชั่วคราวไว้ ณ BIOTEC ในนามของ NBCRC herbarium ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา

ปี 2539 เป็นปีแรกที่เกิดการดำเนินงานด้านพิพิธภัณฑ์เห็ดราอย่างจริงจัง เนื่องจากงานของห้องปฏิบัติการราวิทยาขยายอย่างต่อเนื่องจนทำให้ตัวอย่างที่เก็บไว้ ณ NBCRC herbarium มีปริมาณสูงขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 ตัวอย่าง จึงต้องหาวิธีบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนั้น ดร.ไนเจล และ
ดร.ทิโมที ได้มอบหมายให้ นางสาวธิติยา บุญประเทือง รวบรวมงานหาทางบริหารจัดการตัวอย่างดังกล่าวที่มีอยู่ไม่ต่ำกว่า 15,000 ตัวอย่างในขณะนั้น และกำหนดชื่อคือ BIOTEC Bangkok Herbarium ชื่อย่อคือ BBH ซึ่งมีแนวทางเพื่อพัฒนาไปเป็นพิพิธภัณฑ์เห็ดราในอนาคตอย่างจริงจัง

นับแต่นั้นมามีการหมุนเวียนของนักวิจัยทั้งรุ่นใหม่ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธาน เข้ามาร่วมกับนักวิจัยห้องปฎิบัติการราวิทยา ศึกษาเห็ดราในประเทศไทยจำนวนมากมายอาทิเช่น Tony Whalley, R.J. Bandoni, E.B. Gareth Jones, Egon Horak, Don Pfister, Gary Samuels, Julietta Carrenza, Dennis E. Desjardin, Martina Reblova, Sabine Huhndorf, Kevin Hyde, Rob Samson, Trond Schumacher, etc. ในช่วงปี 2540 BIOTEC และ British Mycological Society ได้สนับสนุนจัดการสำรวจ "ราในเขตร้อน" ขึ้นซึ่งพบว่า

ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากสนใจเข้าร่วมการสำรวจนี้ โดยเดินทางมาจากหลายประเทศทั่วโลกส่งผลให้เกิดจำนวนตัวอย่างแห้งที่ได้จากการศึกษาและฝากเก็บ ณ BIOTEC เป็นจำนวนมาก 

กลุ่มตัวอย่างหลักที่ฝากอยู่ใน BBH มาจาก รหัสดังต่อไปนี้ NHJ (Nigel Hywel-Jones), RJB (Robert Bandoni), TWF (Timothy Flege)TBP & TB (Thitiya Boonpratuang), DED (Dennis Desjardin)Gary Samuels, Julietta Carenza, Vincent Robert, Cony de Cock, SS (Somsak Sivichai), SFC (Sayanh Somrithipol)Kanoksri Tasanatai (KT), Suchada Mongkonsumrit (SM), Rattaket Choeyklin (TH, THP, RCK), VS (Veera Sri-Indrasutdhi), and AW (Apinya Wongkaeo) ตัวอย่างที่ฝากดังกล่าว ได้แก่กลุ่มของ ราก่อให้เกิดโรคในแมลง Hypocreales, Discomycetes เห็ดราขนาดใหญ่ ราน้ำจืด และราทะเล ราก่อให้เกิดโรคในพืช เป็นต้น

2540 - 2542

จากความกังวลดังกล่าว ทาง BIOTEC จึงสนับสนุนให้ดำเนินกิจกรรมบริหารจัดการตัวอย่างแห้ง ภายใต้ชื่อ BBH โดยมีความพยายาม ร่วมกับฝ่ายกฎหมายระหว่างประเทศ หรือ ฝ่ายกฎหมายด้านสิทธิบัตร ให้ความรู้นักวิจัยที่ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ให้พิจารณาการฝากเก็บตัวอย่างไว้ในประเทศไทยเพื่อ

หลีกเลี่ยงการนำ "ชีววัสดุที่เป็นของประเทศไทย" ออกนอกประเทศ แต่การศึกษาวิจัยในยุคนั้น หลีเลี่ยงที่จะนำวัสดุออกนอกประเทศ เพื่อการศึกษาเชิงลึกไม่ได้

ดังนั้น BIOTEC จึงพยายามสร้างเอกสารสัญญาฉบับหนึ่ง "ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายวัสดุชีวภาพ หรือ Material Transfer Agreement ย่อว่า MTA" โดยมีวัตถุประสงค์หลักเรื่องการกำหนดความเป็นเจ้าของ การกำหนดขอบเขตการศึกษา การแจ้งผลการศึกษาต่อผู้เป็นเจ้าของทรัพยากร และการแบ่งปันผลประโยชน์

ของวัสดุชีวภาพที่ถูกเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศ โดยเฉพาะวัสดุที่ยังมีชีวิต หรือ culture material เพื่อป้องปรามไม่ให้เกิดการผิดจริยธรรมในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในต่างประเทศ โดยผู้เป็นเจ้าของไม่ทราบและตัวอย่างแห้งนั้นมีความสำคัญมาก เพราะไม่สามารถเพิ่มปริมาณได้เช่นเดียวกับ เชื้อจุลินทรีย์

แต่จะเป็นตัวอย่างอ้างอิงของเชื้อที่นำไปใช้ประโยชน์นั้นและเป็นหลักฐานการตรวจสอบย้อนกลับอีกด้วย

2542 - 2545

ดังนั้นการที่ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา จะได้รับการยอมรับในระดับสากลนั้นจำเป็นที่จะต้องมีสถานที่จัดเก็บทั้งตัวอย่างแห้งที่เป็น Voucher และ Type specimen ที่เหมาะสมและต้องขึ้นทะเบียน Index Herbariorum กับ New York Botanical Garden (NYBG), USA จึงได้นำชื่อที่ตั้งแล้วคือ BIOTEC Bangkok Herbarium ชื่อย่อคือ BBH นำไปขึ้นทะเบียนกับระบบพิพิธภัณฑ์นานาชาติ การที่ชื่อมีคำว่า Bangkok อยู่นั้นเพราะเนื่องจากสถานที่จัดตั้งในวันนั้นอยู่ที่ อาคารโยธี ของ BIOTEC จังหวัดกรุงเทพฯ ส่วนคำว่า "Herbarium" ในขณะนั้นหมายถึง ตัวอย่างแห้งทั้งพืช เห็ดรา สัตว์ ใช้คำเดียวกัน ถึงแม้ว่า ณ วันนั้น BBH จะไม่มีตัวอย่าง พืชและสัตว์เก็บ แต่เนื่องจาก คำด้านเทคนิคใช้คำเดียวกัน จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชื่อพิพิธภัณฑ์จนมาถึงทุกวันนี้ ในปี 2545 BBH ได้มีสถานที่จัดตั้งเป็นทางการ ได้รับอนุมัติการลงทุนด้าน การก่อสร้าง จึงย้ายที่ทำการจาก อาคารโยธี กทม. มาเป็น อุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ที่เพิ่งเปิดดำเนินงานในปีดังกล่าว 

ภาพ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา ในช่วงปี 2539 - 2545

เหตุการณ์สำคัญช่วงเวลา  2545  -  2554

ภาพ พิพิธภัณฑ์เห็ดรา ในช่วงปี 2545  - 2554

2537 - 2539

ต่อมา ดร.ไนเจล ไฮเวล-โจนส์ และทีมวิจัยด้าน "ราก่อให้เกิดโรคในแมลง" ได้ย้ายจาก ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ หรือ the National Biological Control Research Center มาประจำ ณ BIOTEC ในปี 2537 และได้มีการ  ก่อตั้ง "ห้องปฏิบัติการราวิทยา" หรือ Mycology Laboratory ในช่วงเดือน สิงหาคม ปี 2539 ในขณะเดียวกันกลุ่มงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพด้าน "เห็ดราขนาดใหญ่" นำกลุ่มศึกษาโดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ โรเบริต์ เจ เบนโดนี และ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ทิมโมที วิลเลี่ยม ฟลีเจล ได้เข้าร่วมกลุ่มงานของห้องปฏิบัติการราวิทยาในขณะเดียวกัน

2529 - 2537

การศึกษาราจากธรรมชาติในป่าไม้ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 10-12 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพของราทำลายแมลงในประเทศไทย ได้เริ่มต้นงานวิจัยตั้งแต่ปี 2532 ณ ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ หรือ the National Biological Control Research Center ขณะนั้นมี ดร.บรรพจ ณ ป้อมเพชร
สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ในช่วงเวลาดังกล่าวข้อมูลทั้งหมดใช้รูปแบบการจัดเก็บฐานข้อมูลด้วย Borland's Paradox 

 

นอกจากกลุ่มงานวิจัยความหลากหลายของราก่อให้เกิดโรคในแมลงแล้ว งานวิจัยด้านความหลากหลายของเห็ดราขนาดใหญ่ก็ได้เริ่มต้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน โดยมีผู้เชี่ยวชาญนำคณะโดย  ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ โรเบริต์ เจ เบนโดนี และศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ทิมโมที วิลเลี่ยม ฟลีเจล ซึ่งขณะนั้นทำงานเป็นอาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินงานร่วมกับ ศาสตราจารย์ มรกต ตันติเจริญ ผอ. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC) จึงได้เริ่มเปิดการศึกษาวิจัยอนุกรมวิธานและจัดระบบการจัดการตัวอย่าง ตั้งแต่ปี 2529 ณ BIOTEC

เหตุการณ์สำคัญช่วงเวลา  2554  -  2562

2554 - 2555

จากการอิทธิพลของเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้เกิดภัยพิบัติจากอุทกภัย ในปี 2554 ส่งผลกระทบให้พิพิธภัณฑ์ฯต้องคิดถึงการเตรียมแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ตาม BSC Plan ของ สวทช. โดยต้องพิจารณบรรจุภัณฑ์ใหม่ทั้งหมดซึ่งเดิมใช้กระดาษ เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเกิดขึ้น ไม่มีความมั่นคง ทำให้ตกหล่น เสียหาย จึงต้องเปลี่ยนเป็นภาชนะที่มั่นคงกว่า และ ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวอย่าง ตกหล่นกระแทก จึงพิจารณาเปลี่ยนเป็นกล่องพลาสติกมีฝาล๊อกติดกับตัวกล่อง หากต้องมีการขนย้าย หรือ เคลื่อนย้ายเพื่อหนีภัยพิบัติใดๆ จะปฏิบัติได้สะดวกขึ้น เช่น กรณีน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ซึ่งยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงภาชนะในการบรรจุ ใช้เป็นกล่องกระดาษ และ ซองกระดาษ ถึงแม้จะมีข้อดีคือ น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก แต่ไม่มั่นคงต้องทำการ แพ็คใส่ถุงพลาสติก ทำให้เพิ่มเวลาปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ก่อนเคลื่อนย้าย เมื่อเคลื่อนย้ายแล้วการซ้อนทับก็ไม่มีความมั่นคง ทำให้เกิดการร่วงหล่น น้ำหนักที่ซ้อนทับ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อตัวอย่างด้านใน เป็นต้น   

2555 - 2562

การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นกล่องพลาสติกนั้นนอกจากจะเป็นการป้องกันตัวอย่างภายในเสียหายแล้ว ส่งผลให้ตัวอย่างนั้นสามารถจัดเก็บในห้องเดิมได้มากขึ้นจาก 28,000 ตัวอย่างเป็น 45,000 ตัวอย่าง ดังนั้นการจัดเรียงตัวอย่างต้องมีระบบและกำหนดตำแหน่งมิฉะนั้นการหาตัวอย่างจะเป็นไปได้ยาก จึงนำเครื่องมือสารสนเทศเข้ามาใช้ร่วมกับการบริหารจัดการ เช่น การใช้ QR Code ติดที่กล่องบรรจุตัวอย่าง และกำหนดสถานที่เก็บในกล่องใหญ่ และ ชั้น และ ตู้ในลำดับต่อไป

ยุคปัจจุบัน

ปี  2562 - ปัจจุบัน

ปี 2562 เดือน กรกฎาคม BIOTEC Bangkok Herbarium (BBH) ได้ย้ายโครงสร้างการบริหารงาน จากสังกัดภายใต้ BIOTEC เปลี่ยนเป็น National Biobank of Thailand หรือ NBT ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ภายใต้การกำกับ ของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology for Development Agency (NSTDA) ในปัจจุบัน

 

BBH เปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการตัวอย่างเห็ดราในพิพิธภัณฑ์ ให้มีความทันสมัย และ สะดวกต่อลูกค้า สามารถสอบทวนได้ง่ายขึ้น นำระบบสารสนเทศมาใช้ร่วม และนำเสนอเอกสาร ISO 9001 ฉบับใหม่ในปี 2564 รวมถึงได้นำระบบ ISO 45001 ใช้ในระบบการบริหารจัดการชีวอนามัย การวิเคราะห์ความเสี่ยง และ ความปลอดภัยของการดำเนินงาน รวมถึงให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ภัณฑารักษ์ ผู้จัดการ และ ผู้ช่วยผู้จัดการเข้าอบรม ในทุกหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

การดำเนินงานของ BBH ในปัจจุบันแยกการบริหารออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ Herbarium และ Fungarium ซึ่งตัวอย่างเห็ดราข้างต้นทั้งหมดในปัจจุบัน ถูกนำมาอยู่ภายในระบบ Fungarium เพื่อให้สอดคล้องกับ การประชุม International Mycological Congress San Juan, Puerto Rico ในปี 2559 เป้าหมายของ BBH ในอนาคตคือ การเข้าสู่มาตรฐาน ISO Biobanking 20387 และ Knowledge Management Platform ซึ่งกำลังเตรียมการอยู่ในปัจจุบัน

bottom of page